อบจ.อุตรดิตถ์ ดันธนาคารน้ำใต้ดิน/โครงการฝายแกนดินซีเมนต์ ประสานกำลังทุกภาคส่วน สส.3 เขตร่วมเป็นที่ปรึกษา รุกแก้ภัยแล้งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2566 ณ.ห้องประชุมแคลียา โรงแรมฟรายเดย์ นายชัยศริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานการประชุม”โครงการฝายแกนดินซีเมนต์และธนาคารน้ำใต้ดิน”เพื่อจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามโครงการรัฐบาล เพื่อแก้ไขภัยแล้งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยฝายแกนดินซีเมนต์มีความทนทานต่อกระแสน้ำที่แรงในช่วงฤดูฝน กักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้งได้ดี เป็นมิตรต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม เพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร เป็นการลดและแก้ปัญหาบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทำการเกษตร การดำเนินการครั้งนี้
นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ สส.อุตรดิตถ์,นายวารุจ ศิริวัฒน์ สส.อุตรดิตถ์ ,นายรวี เล็กอุทัย สส.อุตรดิตถ์ ร่วมเป็นที่ปรึกษา แนะนำแนวทางเพื่อนำเสนอโครงการของบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรในจังหวัดอุตรดิตถ์
โดยมีคณะผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายก อบจ.อุตรดิตถ์ กล่าวในที่ประชุมว่า จังหวัดเรามีเขื่อนสิริกิต์ ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ เรามีโครงการเขื่อนผาจุกอยู่ระหว่างก่อสร้าง/มีอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีที่ อ.ท่าปลา แต่เรายังแก้ไขปัญหาภัยแล้ง/น้ำท่วมไม่ได้ ภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปมาก การประชุมวันนี้เพื่อให้ทางท้องถิ่นรับรู้แนวทางการจัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งในชุมชน เรื่องแรก ตอนนี้ทาง อบจ.ทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบที่ตำบลน้ำอ่างซึ่งได้ผลที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นทั้งการเติมน้ำใต้ดินและนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ท้องถิ่นใดสนใจก็ทำโครงการเสนอเข้ามา
ในเรื่องฝายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งทางท่านอาจารย์สังศิต พริยะรังสรรค์ ประธานกรรมาธิการฯวุฒิสภา เข้ามาขับเคลื่อนในจังหวัดเราเมื่อปลายปี 2563 และทางคณะทำงานได้สร้างฝายต้นแบบไว้ที่ ต.ด่านนาขามและต.นายาง ซึ่งตอนนั้น อบจ.เป็นผู้สนับสนุน เครื่องจักร ตอนนี้ฝายแกนดินซีเมนต์ได้เข้ามาเป็นนโยบายของรัฐบาล ท้องถิ่นใดสนใจก็เร่งสำรวจทำโครงการเสนอไปที่ท้องถิ่นจังหวัด
ในส่วนโครงการชลประทานขนาดใหญ่ซึ่งมีสำนักก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ ๓ ดูแลอยู่ผมได้เข้าร่วมเวทีกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างเข้าใจกันระหว่างหน่วยงานก่อสร้างกับท้องถิ่นท้องที่และราษฏรเราต้องมีเวทีสร้างความเข้าใจ สนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน คือต้องลดผลกระทบ/มีผลกระทบต้องเยียวยาเป็นธรรม การก่อสร้างอาจต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องชาวอุตรดิตถ์ การทำงานของ อบจ.อุตรดิตถ์ ระดมกำลังจากทุกภาคส่วน ทั้ง ภาคราชการ/ท้องถิ่นท้องที่/ภาคประชาสังคม/ภาคประชาชนและภาคการเมืองคือ ส.อบจ./ สส.ทั้ง3 เขตเพื่อช่วยกันประสานทำงานเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน”
เอนก ธรรมใจ
รายงาน