“ซีพีน่าน” ขานรับกาแฟ GI ยกระดับอัตลักษณ์ – มูลค่าเพิ่ม

“ซีพีน่าน” ขานรับกาแฟ GI ยกระดับอัตลักษณ์ – มูลค่าเพิ่ม

—– 

 

บัญชา โชติกำจร ผู้อำนวยการสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวขอบคุญรัฐบาล กรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การผลักดันการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ ที่ตนต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนผ่านการส่งเสริมสินค้าชุมชนท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 

 

ทั้งนี้ การลงพื้นที่แหล่งเพาะปลูกและผลิตกาแฟน่านในพื้นที่ดอยแม่จริม อ.แม่จริม และดอยสวนยาหลวง อ.ท่าวังผา เพื่อส่งเสริมและเตรียมผลักดันขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์รายการใหม่ของจังหวัดน่าน ได้หารือกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้ากาแฟใน จ.น่าน รวมไปถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) ของจังหวัดน่าน และ MOC Biz Club เพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับสินค้ากาแฟน่านสู่อุตสาหกรรมตลาดกาแฟต่างประเทศ

 

โดยรายงานข่าวระบุนายภูมิธรรม กล่าวว่า “อยากให้พิถีพิถันทำคุณภาพให้ดี ถ้าได้จีไอมาเสริมจะยิ่งเกิดมูลค่าเพิ่ม ทำให้คนอยู่กับชุมชน อยู่กับครอบครัว คนหนุ่มสาวถ้ามีรายได้ก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่อื่น ขณะนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กำลังช่วยกันกับ BEDO (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ.) ช่วยกันเขียนคำร้องให้ คาดว่าเดือนหน้า หรือเดือนถัดไป

 

สินค้ากาแฟที่นี่จะเป็นสินค้าจีไอ เพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น และทุกหน่วยงานราชการสำคัญมาทำงานร่วมกัน ผมเป็นคนกินกาแฟทั่วไป ไม่ใช่คอกาแฟ แต่ได้มาเริ่มลิ้มรสชาติที่นี่ ให้ชีวิตกาแฟของผมเกิดที่นี่ ตอนแรกคิดในใจว่ารสชาติคงไม่ต่างกัน แต่ปรากฏว่าแตกต่างจริงๆ สามารถรู้ถึงรสชาติหอมหวาน ได้กลิ่นผลไม้ ได้ความระยิบระยับที่กระพุ้งแก้ม กาแฟเป็นศิลปะไม่แพ้ไวน์ของต่างประเทศ อยากเชิญชวนพี่น้องทานกาแฟบ้านเรา เป็นกาแฟคุณภาพ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ชาวบ้านสามารถทำมาตรฐานได้ วันนี้เห็นคนหนุ่มคนสาวอยู่ที่หมู่บ้านแล้วสบาย ถ่ายทอดให้น้องๆ เขาต่อ ชื่นชมที่ให้ประสบการณ์กับผมและพลังของพวกชุมชนในการแก้ไขปัญหา และหน่วยราชการทั้งหมดที่ช่วยกัน”

 

สำหรับกาแฟน่าน ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของจังหวัดน่าน ซึ่งในปัจจุบันมีกาแฟน่านหลากหลายสายพันธุ์ และเป็นที่ต้องการของตลาดกาแฟ เช่น กาแฟดอย สวนยาหลวง กาแฟแม่จริม กาแฟมณีพฤกษ์ กาแฟสะเกี้ยง เป็นต้น ตามข้อมูลกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้า GI กาแฟไทย รวม 8 สินค้า จากแหล่งผลิตทั่วประเทศ เช่น กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง กาแฟเทพเสด็จ เป็นต้น สร้างมูลค่ากว่า 695 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ส่วน GI หมายถึง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ

 

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ฟังประเด็นนี้ได้ในรายการจับประเด็นข่าว ทาง FM 102.75 MHz ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.00 น ถึง 18.00 น. เช่นเดิม พร้อมกระจายเสียงสดผ่านวิทยุออนไลน์ ช่องทาง http://112.121.151.133:8123/stream สามารถรับฟังได้ทั่วประเทศ – ทั่วโลก ดำเนินรายการและเจาะลึกข่าวร้อน ทันสถานการณ์ โดย เปี่ยมศักดิ์ แพทยกุล

ข่าวเข้ม ประเด็นร้อน ไม่ฟัง ไม่รู้ แล้วจะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง

 

/////

 

ติดตามสกู๊ปพิเศษ เรื่อง “ศึกเกลือเมืองน่าน” 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=6700205123371738&set=a.140039582721691&notif_id=1696473669739036&notif_t=feedback_reaction_generic&ref=notif 

 

คลิกอ่านข่าว – ภาพทั้งหมด ที่เพจลิ้งด้านล่าง

 

https://www.facebook.com/peamsak/posts/7214931128565799?notif_id=1708334101621792&notif_t=

video_processed&ref=notif 

Copyright © 2023 สํานักข่าวภูมิภาค.com All rights reserved.