ลำปาง – วช. โดย ศูนย์ HTAPC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ ” PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ”
วันที่ 4 เมษายน 67 เวลา 9.30 น. ณ ห้อง 7508 ชั้น 5 อาคารบุญชูปณิธานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้าน
พิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollutin and Climate – HTAPC) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ “PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
โดยมีดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด และรองศาสตราจารย์ ดร .สสิธร เทพตระการพร
คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร. สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษ
อากาศและภูมิอากาศ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวขาญ ร่วมประชุมเสวนา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งขาติ กล่าวว่า วช.ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการโครงการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย มุ่งเนันในด้านทรัพพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อม โดยเฉาะอย่างยิ่งในหัวข้อ “ประเทศไทยปลอดหมอกควัน” และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการและบรรเทาปัญหามลพิษ PM 2.5 เช่น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันสมัย เครื่องมือตรวจวัด การบำบัด และการวิเคราะห์ องค์ประกอบเพื่อระบุแหล่งกำเนิด รวมถึงการประเมินประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการบรรเทาผลกระทบของฝุ่น PM.2.5
ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ สมารถนำไปใช้เป็นแหล่งสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญให้แก่ กรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ซึ่งความรู้ที่ได้จะสามารถวางแผนและพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการบรรเทาปัญหามลพิษ PM.25 ได้
ในปี 2566 วช. จึงริเริ่มพัฒนาเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ มี ดร.สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนาเป็นผู้ อำนวยการศูนย์ฯ โดยศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และวิทยาการสาขาต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้สังกัดของสถาบันการศึกษาใดสถาบันหนึ่ง เพื่อให้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายสถาบันอย่างแท้จริง ดร.สุพัฒน์ หวังงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ วช. กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ “PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดขึ้นเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ทั้งในและต่างประเทศ
จากการเสวนาในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการนำสิ่งที่ไม่เข้าใจในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับฝุ่นละออง PM2.5 ก็จะนำไปสู่การแนวทางการเตรียมรับมือด้านสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นข้อมูลแก่ประชาชนในการเฝ้าระวัง การเผชิญเหตุเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น เพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ ข้อควรปฏิบัติ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ในช่วงเวลาวิกฤตของพื้นที่ การจัดการพื้นที่ SAFE ZONE หรือพื้นที่ปลอดฝุ่น รวมถึงร่วมกันเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการจัด
การฝุ่น PM2.5 ที่เหมาะสมกับรายบุคคล ทั้งนี้ วช. และศูนย์รวมผู้เชี่ยวขาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ จะนำผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชน เฝ้าระวัง ป้องกันฝุ่น PM2.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก อันจะนำไปสู่ สุขภาพ คุณภาพ ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต
พรปวีณ์/ข่าวลำปาง