“อดีต.สว.สันติภาพ” แถลงข่าวพร้อมสู้ศึกลงสมัครนายก อบจ.น่าน ใช้อำนาจหน้าที่ท้องถิ่น เดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อคนน่าน และต้องเป็นที่พึ่งของคนน่าน (มีคลิปข่าว)

“อดีต.สว.สันติภาพ” แถลงข่าวพร้อมสู้ศึกลงสมัครนายก อบจ.น่าน ใช้อำนาจหน้าที่ท้องถิ่น เดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อคนน่าน และต้องเป็นที่พึ่งของคนน่าน (มีคลิปข่าว)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ค 67 เวลา 10.00 น. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ อดีต สมาชิกวุฒิสภา จ.น่าน ปี 2543 – 2549 /ประธานมูลนิธิสันติภาพ ทนายความ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนจังหวัดน่านพร้อมลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.น่าน ซึ่งหมดวาระลงในวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ ห้องสำนักงานอาคารสันติภาพ กรุ๊ป หมู่บ้านสันติภาพ 2 ต.ไชยสถาน อ.เมืองน่าน จ.น่าน


ทั้งนั้น นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ กล่าวว่า เป้าหมายตนเองในการลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน (นายก อบจ.น่าน) เพื่อต้องการแก้ปัญหาของคนน่านอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการทำงานต้องรู้จริง เข้าใจ ทำได้ ทำเป็น เพราะสำคัญที่สุดอำนาจเต็มในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น คืออำนาจของท้องถิ่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 14 ว่าด้วยเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 249 – 254 โดยอำนาจเป็นของประชาชน ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 3


นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ กล่าวต่อว่า เพื่อต้องการเข้ามาแก้ไขเพื่อคนน่าน ในทุกเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ตนเองรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ เมื่อมีคนอื่นถามว่าทำไมคนน่านตัดไม้ทำลายป่า ผมย้อนถามกลับว่า เวลาท่านเดินทางจากเมืองหลวงกรุงเทพฯ ปทุมธานี ผ่าน จ.อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ถึงนครสวรรค์ เวลาประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวน ทำไมไม่ประกาศในเขตพื้นที่ราบบ้าง ? ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนเองเคยทำคดีต่างๆกว่า 40 ปี พื้นที่จังหวัดน่านคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ประชาชนที่อาศัยอยู่มาก่อนตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อยู่ผิดกฎหมายทั้งหมด คนน่านทำมาหากินในอดีต อยู่บนเขาบนดอยตั้งแต่พร้อมๆ เกิดจังหวัดน่าน จะให้พวกเขาไปอยู่ที่ไหน ? เรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น ผมเรียนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดน่าน และการแก้ไขปัญหาบริบทของจังหวัดน่านจะสำเร็จได้นั้นคือ อำนาจของท้องถิ่นอย่างเดียวเท่านั้น โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 249 – 254 อีกทั้งรัฐบาลค้างเงินแก่จังหวัดน่านเท่าไหร่ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร สินค้าเข้ามาจังหวัดน่านภาษีที่พึงได้ ต้องติดตามทวงคืน รวมถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ต่างๆ จ.น่าน และพื้นที่บ้านดอนตัน-สบหนอง อ.ท่าวังผา ที่เกิดปัญหาซ้ำซาก ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งการแก้ไขปัญหาคนอยู่กับป่า ก่อน พ.ร.บ.ป่าสงวน หรือ พ.ร บ.อุทยานฯ ใช้บังคับ ต้องได้รับสิทธิ์ให้อยู่โดยชอบ ไม่ถูกจับดำเนินคดีตามกฎหมาย (ประชาชนอยู่มาก่อน รัฐประกาศทับพื้นที่) เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นต้องแก้ไข การทำกระเช้าขึ้นดอยภูคา เมื่อผ่านการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนเสร็จเรียบร้อย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว


สำหรับนโยบายฯ เบื้องต้นภายใน 4 ปี จะต้องเกิดขึ้นโดยอาศัยความสำคัญลำดับก่อน-หลัง มีดังนี้
1. ด้านการศึกษา – ตั้งโรงเรียนกีฬาและโรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ
2.ด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน – ประชาชนที่อาศัยอยู่ในผืนป่า หรืออุทยานแห่งชาติ ก่อนพ.ร.บ.ป่าสงวนใช้บังคับ ต้องอยู่โดยเฉพาะด้วยกฎหมาย – ประชาชนต้องมีที่ดินทำกิน /แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
– จัดตั้งตลาดองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านเพื่อระบายจำหน่ายสินค้า
3. ด้านการท่องเที่ยว – จัดทำกระเช้าขึ้นดอยภูคาหรือที่อื่นใดเมื่อประชาชนในพื้นที่ต้องการจะดำเนินการให้ตามความต้องการของประชาชนและศักยภาพของท้องถิ่นเท่าที่มี- น้ำพุร้อนที่ดีที่สุดสำหรับออนเซ็นที่บ้านน้ำกี่อำเภอท่ามกลาง- น้ำแร่ที่ดีที่สุดของประเทศที่ตำบลยอด อำเภอสองแคว
– เปิดจุดผ่อนปรนตามมติคณะรัฐมนตรี 4 ช่องทาง เพื่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
4.ด้านสิ่งแวดล้อม- แก้ไขปัญหามลพิษตามที่เป็นข่าวโดยตั้งคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและศึกษาว่ามีผลกระทบจริงไหมโดยใช้อำนาจของท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
5. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย- แก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากบ้านดอนตัน-สบหนอง และบริเวณใกล้เคียง อำเภอท่าวังผา รวมถึงปัญหาน้ำท่วมทุกพื้นที่จังหวัดน่าน
6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ- จังหวัดน่านต้องมีรายได้เกิดขึ้นที่จังหวัดน่าน- แหล่งเงินที่มาของจังหวัดน่านภาษีจากการนำเข้าสินค้าต่างๆ อาทิเช่น กระแสไฟฟ้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 10% จากเงินภาษีที่ชำระให้กับรัฐบาล จังหวัดน่านจะต้องได้เงินภาษีนั้นตามกฎหมายและจะติดตามและประสานเงินที่ได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ต้องมาดูแลจังหวัดน่านเพราะปริมาณของแม่น้ำน่าน 40% ไปหล่อเลี้ยงแม่น้ำเจ้าพระยา”รู้จริง เข้าใจทำได้ ทำเป็น และกล้าที่จะทำ นโยบายต่างๆเบื้องต้น ที่ต้องนำไปพัฒนาจังหวัดน่าน เพื่อคนน่านตามความสำคัญก่อน – หลัง รวมถึงปัญหาต่างๆที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยท้องถิ่น ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในหมวด 14 มาตรา 249-254 ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมาย” นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดน่าน ปี พ.ศ.2543 – 2549 (ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ครั้งแรกแห่งราชอาณาจักรไทย) / อดีต.สว.สันติภาพ ประธานมูลนิธิสันติภาพ ทนายความ กล่าวทิ้งท้าย

ขอขอบคุณเครดิตภาพข่าว

ทีมข่าวภูมิภาค

ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

รายงาน

Copyright © 2023 สํานักข่าวภูมิภาค.com All rights reserved.