อุตรดิตถ์แถลงข่าวเทศกาลลางสาดลองกองหวานด้านสินค้า OTOP อุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์แถลงข่าวเทศกาลลางสาดลองกองหวานด้านสินค้า OTOP อุตรดิตถ์

เมื่อเวลา 09.30 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567 ที่ศาลาประชาคมหน้าศาลากลางจ.อุตรดิตถ์ ถ.ประชานิมิตร ต.ท่าอิฐ อ.เมืองจ.อุตรดิตถ์ จากการนำของนายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผวจ.อุตรดิตถ์ นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์​ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ นางพิสมนต์​ มงคลเทพ พานิชจังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้แทน พัฒนาการจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลลางสาดลองกองหวาน และสินค้า Otop จังหวัดอุตรดิตถ์ประจำปี 2567 ขึ้นในระหว่างวันที่12- กันยายน​ 2567


โดยมี นางสาวเยาวรัตน์สายสี คลังจังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ นายมรกต อินผู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ นายณรงค์พันธ์ เจนประกอบกิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมการแถลงข่าวในครั้งนี้


สำหรับประวัติความเป็นมาของลางสาด ลองกอง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์เล่าว่า เมื่อกว่า 200 ปี “หลวงพิบูล” เจ้าเมืองลับแล สมัยนั้น เป็นบ้านนาโป่ง ต.ฝ่ายหลวง สมัยไปติดต่อราชการบางกอกเมืองหลวง
ตอนเข้าประชุมข้อราชการมีเจ้าเมืองจาก
ทางใต้ เอาลางสาดมาแจกใช้ชิมเป็นการผูกไมตรี และแนะนำผลผลิตเกษตรหลวงพิบูลเจ้าเมืองลับแลเป็นคนหนึ่งจากแดนเหนือที่ได้ชิมลางสาดแล้วติดใจ ท่านเป็นที่สนใจไม้ผล พืชผลต่างๆ จึงได้นำเอาเมล็ดลางสาด กลับมาเพาะปลูกที่ลับแลตอนเหนือ ตั้งแต่บ้านเกิดท่านบ้านนาโป่ง ต.ฝ่ายหลวง ขึ้นไปจนสุดเขาน้ำตกแม่พูล ออกถึง ต.นานกกก ข้ามเขาพลึง แพร่ขยายไปทั่วจากบ้านเจ้าเมือง สู่บ้านเจ้าขุนมูลนาย ถึงชาวบ้าน มีที่ว่างตรงไหนก็ปลูกกันทั่วไป เพราะสภาพภูมิอากาศเหมาะที่จะปลูกและได้ผลผลิตดีจนถึงสมัย “หลวงเทพ” บุตรหลวงพิบูล ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลับแล ยิ่งเร่งขยายพันธุ์ลางสาดปลูกต่อโดยขุดถอนจากต้นที่ขึ้นใหม่ตามโคนต้นลางราดที่ร่วงหล่น หรือเอาเม็ดไปเพาะปลูกขยายพันธุ์กันขึ้นไปจนถึงสมัยหลวงเทพบุตรหลวงพิบูลย์ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลับแล ลางสาด เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น เพราะเป็นแหล่งเดียวในภาคเหนือที่มีการปลูกลางสาด ลางสาดเป็นผลให้ที่มีรสชาติแปลก หอมทวาน ไม่เหมือนผลไม้ชนิดใดเลย มียางมากหน่อยสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองลับแล ได้มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองเมืองแทนเจ้าเมือง คือ “พระศรีพนมมาศ”เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งนายอำเภอท่านนี้ มีบ้านอยู่ที่บ้านยางกะได คือเขตเทศบาล ต.ศรีพนมมาศ ท่านได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพทำสวนผลไม้เป็นอย่างมาก มีการเกณฑ์ชาวบ้านให้ปลูกต้นไม้พันธุ์ไม้นานาชนิด โดยเฉพาะลางสาด มีการพัฒนาระบบน้ำ เป็นฝายกั้นน้ำลำหัวย “ฝายหลวง” คือผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ การสร้างฝายหลวง ต้องเกณฑ์แรงงานประชาชนมาทำงานจำนวนมาก และเป็นงานที่ยากลำบากเพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำทำการปลูกพืชผลลต่างๆ ขณะเดียวกัน มีการตั้งกฎระเบียบว่า ใครที่ไม่ปลูกต้นหมากรากไม้คอยแต่เก็บหาของกินจากป่า จับได้ต้องถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานทำฝ่ายหลวง ชาวบ้านนอกจากใจรัก ที่จะปลูก ต้นไม้ต่างๆ แล้ว และโดนบังคับด้วย จึงต้องปลูกต้นไม้ ที่ไหนว่าง จับจองที่ป่า ตัดโค่นต้นไม้ ต้องปลูกลางสาดแทนที่ ที่ตรงไหนบนเขาบนดอยที่เห็นว่างๆ ใช้ “คันสุน” หรือคันกระสุน ซึ่งก็คือเครื่องมือล่าสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายคันธนูแต่ใช้ยิงด้วยลูกหินหรือลูกดินปั่นเป็นลูกกลมๆเล็กๆพอเหมาะยิงเม็ดลางสาดหรือพันธุ์ไม้ขึ้นไปบนเขาในป่าบนดอยทำให้มีต้นไม้และต้นลางสาดเกิดขึ้นอีกมากมายผลไม้ในสวนลับแลจึงมีผลไม้หลากหลายชนิดปะปนกันอยู่บนเขา
ในส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกลางสาดของจังหวัดอุตรดิตถ์มีจำนวน 5,300 รายพื้นที่เพาะปลูก8,000 ไร่ผลผลิต 4,700 ตันคิดเป็นมูลค่า 94 ล้านบาท
โดยในช่วงเดือนกันยายนนี้จะมีผลผลิตลางสาด 2,500 ตันในเดือนตุลาคมผลผลิต 1,800 ตันส่วนเดือนพฤศจิกายนอีก 230 ตัน


การจัดงานลางสาดลองกองหวานและสินค้าโอทอปจังหวัดอุตรดิตถ์จะจัดขึ้นในวันที่ 13 ถึง 22 กันยายน 2567 เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ณบริเวณสนามกีฬาหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์สำหรับการพิธีเปิดงานจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 กันยายนเวลา 17.00 น.ภายในงานมีสินค้า OTOP มากมายตลอดจนมหรสพศิลปินและนักร้องชื่อดังมาทำการแสดงคอนเสิร์ตตลอดจนการจำหน่ายผลผลิตลางสาด-ลองกองอีกทั้งยังมีการแข่งขันตำ-ยำลางสาด-ลองกองลีลา

สุพจน์ มิลหล้า
รายงาน

Copyright © 2023 สํานักข่าวภูมิภาค.com All rights reserved.