(ชมคลิปข่าว)
อุตรดิตถ์ – แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ปี 2567
เมื่อเวลา 10.00 น ของวันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่หอประชุมโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ ต.ท่าปลา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จากการนำของนายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด นายสุรินทร์ ปริมาณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าปลา นายสมพร นะถา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา นายนิธินนท์ เมืองพุ่ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต นางบุษยมาส หาญกาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า.องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญาเทศบาลตำบลร่วมจิต เทศบาลตำบลจริม
โดยมีนายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วยนายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รองปลัด อบจ.อุตรดิตถ์ นางสาวภัททิรา คำอภิวงศ์ รองผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานแพร่ รับมอบหมายดูพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ เจ้าหน้าที่จาก ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ประธานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเชื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายดนัย อู่ทรัพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าปลา ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 การจัดงานดังกล่าวจัดขึ้นที่บริเวณลานอเนกประสงค์ข้างที่ว่าการอำเภอท่าปลา ระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567(ออกพรรษาแห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลก ที่อำเภอท่าปลา)โดยมีนายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือดเป็นเจ้าภาพหลัก และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 1,000,000 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด 300,000 บาท การไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ 100,000บาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 แห่ง ,องค์กรปกครองส่วนท้องที่ทั้ง 7 ตำบล มอบงบประมาณในการร่วมจัดกิจกรรม ซึ่งมีนางสาวสุนันทา สุนทรารัณย์ บริจาค 10,000 บาท หน่วยงานพัฒนาชุมชน,เกษตร อ.ท่าปลา,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอท่าปลา,ส่วนราชการ,ร่วมออกร้านแสดงวิถีคนท่าปลา นำเสนอของดีต่างๆของอำเภอท่าปลา ราษฎรที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเก่า ก่อนการสร้างเขื่อน ในบูธวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีลานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรมของอำเภอท่าปลา ร.ร.ระดับอำเภอท่าปลาจัดบูธส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมอาชีพท่าปลา ราษฎรที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเดิม จากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์เมื่อปีพ.ศ.2512 ประชาชนเคยดำรงชีวิตอย่างความสุขตามธรรมชาติ ตามคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ภายหลังที่ราษฎรขนย้ายครอบครัวของตนมาจับจองที่อยู่อาศัยตามที่รัฐจัดสรรให้ขนบธรรมเนียมประเพณีประจำปี เช่น ประเพณีแห่ผีตลก ประเพณีต่านก๋วยสลาก ประเพณีการขึ้นธาตุของคนท่าปลา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีจุดบอกไฟ ในเวลาสรงน้ำธาตุ คนท่าปลา ประเพณีต่างๆเหล่านี้ก็จางหายไปในช่วงที่อพยพมาสร้างบ้านแปงเมือง งานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลาเดิมชื่องานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลา
โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น เผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนรุ่นหลังรู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมประเพณีประจำท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอท่าปลาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนและสร้างรายได้ไห้แก่ประซาชนและชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอท่าปลาให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร มีรายได้ จาการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นการจัดกิจกรรมในงานเน้นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลา พิธีกรรมเข้าหัวผีตลกที่วัดท่าปลาในวันที่ 8 พฤศจิกายน มีขบวนวัฒนธรรมประจำถิ่นที่มีความโดดเด่นแต่ละท้องถิ่น การจัดบูธวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น มีลานวัฒนธรรม การจัดเวทีเสวนาภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน อำเภอท่าปลา การจัดบูธผ้าทอมือ จกด้วยขนเม่น “มรดกล้ำค่าของคนท่าปลาลายงูเหลือม” การจัดเดินแบบผ้าทอท่าปลาในลานวัฒนธรรมท่าปลา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มาจัดบูธให้ความรู้เรื่องผ้าทออีกด้วย และยังมีลานสร้างสรรค์จัดประกวดดนตรีไฟล์ค
ประเพณีแห่ผีตลกอำเภอทำปลา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่าสองร้อยปี สภาวัฒนธรรมได้ขอนำเสนอผีตลก ของชาวอำเภอท่าปลามีการละเล่น 2 แบบ คือ คนท่าปลาเดิม ชาวตำบลท่าแฝก เรียกประเพณีแห่ผีขน นำมาละเล่นในการแห่นาคไปในชุมชนเพื่อไปขอกราบลากับผู้อาวุโสในชุมชน มีการแต่งผีตลกที่ชาวตำบลท่าแฝกเรียกอีกอย่างว่าผีขนส่วนอีกวิธีคือ ชาวตำบล หาดล้า ตำบลจริม ตำบลท่าปลา นำวิธีแห่ผีตลกมาใช้ในช่วงเทศการออกพรรษา คือก่อนออกพรรษา ชาวอำเภอปลาจะเข้าในป่าเพื่อตัดไม้ไผ่มาจักเป็นตอก มาสานเป็นหัวผีตลกและประดับประดาตกแต่งหัวผีให้น่ากลัว รวมถึงขอใช้ผ้าเหลืองของพระเก่ามาทำหัวผีตลก การดำเนินการทำหัวก่อนออกพรรษา 1วัน จะมีขบวนแห่หัวผีตลก วิธีปฏิบัติของคนที่จะสวมหัวผีก็จะนำหมากคำ พลูใบ และไข่ต้ม 1 ฟอง เข้าไปอัญเชิญผีมาเข้าเพื่อแห่ไปในหมู่บ้านเมื่อ ชาวบ้านเห็นขบวนแห่ผีตลก จะช่วยกัน ตัดต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นข่า ต้นกุ๊ก ต้นดอกไม้มากองไว้ที่หน้าบ้านข้างทางเพื่อให้ทางคณะกรรมการที่ไปร่วมขบวนแห่ได้เก็บเอามาที่วัดเพื่อนำมาประดับประดาศาลาการเปรียญให้เป็นป่าหิมพานด์และเทศน์มหาชาติ ขบวนวัฒนธรรมมีขบวนของดีวิถีพอเพียง คนร่วมจิต ของ อบต.ร่วมจิต,ขบวนประเพณีวันสงกรานต์ อบต.ท่าปลา.ขบวนท่าปลาที่รัก ของ ทต.ท่าปลา,ขบวนดินแดนมะม่วงหิมพานต์ ของ อบต.หาดล้า ประเพณีการละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีแห่ผีตลกทั้ง 9 ท้องถิ่น,ขบวนสักการะปูพญาแก้ววงศ์เมือง ของ อบต.น้ำหมัน วิถีชีวิตชาวตำบลนางพญา ของ อบต.นางพญา ขบวนมนต์เสน่ห์ร่วมจิต ของอบต.ร่วมจิต, และขบวนวิถีชีวิตคนผาเลือด ของ อบต.ผาเลือด
ซึ่งเป็นเจ้าภาพปีนี้ ในงานปีนี้มีการจัดกิจกรรมการประกวด คนตรีโฟล์ค, เดินแบบผ้าทอท่าปลา, ประกวดอาหารพื้นถิ่นท่าปลา การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง, ประกวดนางงามวัฒนธรรม, ออกร้านขายสินค้า OTOP ของดีอำเภอท่าปลา สนับสนุนโดยเขื่อนสิริกิดิ์, ร้านค้าชายสินค้าของดีอำเภอท่าปลา พัฒนาชุมชน,เกษตรอำเภอ,และกลุ่มวิสาหกิจชุมชมชนจัดแสดงสินค้า, เทศบาลตำบลท่าปลาจัดขายอาหารแบบพื้นเมือง ขายอาหารแบบขันโตกจำหน่ายภายในงาน, มีการแข่งขันกีฬาเซปัคตระกร้อ เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด กิจกรรมบันเทิง การแสดงแสง สี เสียง ,พิธีเปิดงานมีการรวมพลังนางรำจากทุกพื้นที่กว่า 500 ชีวิต กับเพลงรำวงท่าปลาบ้านเรา มี ดนตรึ มวยไทย,เอกลักษณ์ของชาวท่าปลาที่นำเสนอในงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลาการแสดงแสง สีเสียง สื่อผสม ชุด “ท่าปลา นครแห่งรักอันบริบูรณ์” โดยทีมงานจากสาขานาฎศิลป์ไทยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาภัยราชภัฏอุตรดิตถ์ , ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์บูธแสตงสินค้า OTOP ของดีอำเภอท่าปลามะม่วงหิมพานต์,ผลิตภัณฑ์ปลา,ปลาซิวแก้ว,ปลาย่าง,ปลาร้า, งานจักสานไม้ไผ่,ไม้กวาด,ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประชาชนได้รับการฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไปเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวท่าปลาให้คงอยู่ยั่งยืนต่อไป ประชาชนชาวท่าปลามีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น สร้างรายได้ให้กับชาวท่าปลาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น
เอนก ธรรมใจ
รายงาน