น่านพัฒนาสู่ความยั่งยืน

น่านพัฒนาสู่ความยั่งยืน

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทาแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน

ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงมีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งในมิติเศรษฐกิจที่โครงสร้างยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างเต็มที่ ผลิตภาพการผลิตของภาคบริการและภาคเกษตร ยังอยู่ในระดับต่ำ คุณภาพและสมรรถนะของแรงงาน ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ มิติทางสังคมที่การยกระดับรายได้ของประชาชน การแก้ปัญหาด้านความยากจน และความเหลื่อมล้่า การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และการขยายโอกาสในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ ยังคงมีช่องว่างที่สามารถพัฒนาต่อไปได้มีติสิ่งแวดล้อมที่การฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังเป็นประเด็นส่าคัญส่าหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และมิติของการบริหารจัดการภาครัฐที่ยังขาดความต่อเนื่อง และความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วันนี้ ย้อนรอย รศ.ปรีชา วุฒิการณ์ นักวิชาการ อดีตที่ปรึกษาด้าน CSR หรือกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด (Hongsa Power Company Limited) ลงพื้นที่สนับสนุนการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่ความยั่งยืน หรือ Develop for sustainability และแนวคิดของบริษัท ไฟฟ้าหงสาฯ เป็นมิตรกับชุมชน นำร่องโดยการพัฒนาแหล่งน้ำ สู่การประกอบอาชีพที่ได้ผืนป่ากลับคืน พร้อมกับความปลอดภัยจากโครงการหงสามิตรชิดใกล้ จากนั้น ขยายไปอีกหลายๆ อำเภอ และได้รับการตอบรับในทางที่ดี

อีกเรื่องอาจจะเป็นเพราะว่า ความรักเกียรติศักดิ์ เกียรติภูมิของความเป็นอดีตนครรัฐ เราเขียนถึงนครรัฐน่านต่อเนื่องมาพอสมควร ทำให้คนรู้สึกว่าเราน่าจะเป็นเมืองที่มีความคิดอ่าน เป็นที่พึ่งพาของเมืองทางใต้น้ำของเราด้วย ก็มีหลายคนที่พยายามจะไม่ปฏิเสธเรื่องนี้ ประกอบกับความไม่จริงใจของนายทุน บางครั้งการกำหนดราคา ถ้าหากผลิตผลมีน้อยก็กำหนดราคาสูง ถ้าผลิตผลมีเยอะ… โอเค มันเป็นเรื่องของกลไกการตลาดและเศรษฐศาสตร์ เรื่องดีมาน-ซัพพลายอะไรก็แล้วแต่ ทำให้คนรู้สึกพอเห็นเขาปลูกน้อยก็จะมาขึ้นราคา พอเห็นปลูกมาก็หวังจะได้เงินบ้างก็ตัดราคาเขาลง เหมือนกับนั่นคือความไม่จริงใจในการทำงานร่วมกัน ก็เลยเริ่มท้อ.

นอกจากนั้น เป็นความรู้สึกที่ได้รับฟังมา ถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ปีนั้นเป็นปีที่หลายหมู่บ้านบ่นว่าน้ำน้อยลง ลำห้วยหลายสายปีที่แล้วยังไหลอยู่ ปีนี้แห้งขอดไปแล้ว เช่นห้วยติ้ว ต.บ่อ อ.เมืองน่าน ที่ไม่เคยได้ยินเลยว่าน้ำแห้ง แต่ปรากฏปีที่ผ่านมานั้นแห้ง เลยจำเป็นต้องมาใช้อีกห้วยหนึ่ง ทั้งที่ตลอดเวลาที่ผ่านมามันไม่เคยขาดน้ำ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกได้ว่า มันถึงขนาดนี้เลยหรือมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้มานั่งคิดทบทวนไปทั้ง 6 ปีว่า กิจกรรมที่ทำร่วมกับหมู่บ้านทั้งหมด 22 ชุมชนที่ทำมา ได้พบเห็นรับฟังคำพูดคำจาของพี่น้องชาวบ้าน ทั้งคนพื้นราบ คนภูเขาสูงเตี้ยต่างๆ เอามาประมวลที่นักวิชาการเรียกว่าถอดบทเรียน อาจจะพูดได้ว่าเรื่องแรกจากภาพทั่วไป การเข้าใจ-เข้าถึงมวลชน ตามหลักของพระเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง ต้องใช้เวลาและความอดทนสูง ใครก็แล้วแต่ที่จะไปทำงานนี้ ต้องเข้าใจโดยเฉพาะนักมวลชนสัมพันธ์ ที่จะต้องทำงานร่วมกับชุมชน ต้องอดทน จะมาฉาบฉวย หวัง… ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ในเวลาอันสั้น มันไม่สำเร็จต้องใช้เวลา ต้องใกล้ชิด ร่วมฟังร่วมคิด แก้ปัญหาอย่างไม่ยอมแพ้..

วันที่ 24 มิถุนายน 2567 ฟังประเด็นนี้ได้ในรายการจับประเด็นข่าว ทาง FM 102.75 MHz ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.00 น ถึง 18.00 น. เช่นเดิม ดำเนินรายการและเจาะลึกข่าวร้อน ทันสถานการณ์

เปี่ยมศักดิ์ แพทยกุล

ภาพข่าว/รายงาน

ข่าวเข้ม ประเด็นร้อน ไม่ฟัง ไม่รู้ แล้วจะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง

/////

Copyright © 2023 สํานักข่าวภูมิภาค.com All rights reserved.